go to http://oracle.in.th

Friday, August 14, 2009

PC connecting Mobile

ขอแวะเอาเรื่อง Java มาตัดความร้อนแรงของ Oracle ในบล็อกหน่อย ในโพสนี้จะพูดถึงการเชื่อมต่อระหว่าง PC กับอุปกรณ์สื่อสาร โดยอุปกรณ์สื่อสารที่พูดถึงนั้นเป็นไปได้ทั้งมือถือ หรือโมเด็มที่เชื่อมต่ออยู่กับ PC โดยทั่วไปเราจะสื่อสารกันได้ 2 วิธีหลักๆ คือ
  • AT Command
  • API ที่ผู้ผลิตอุปกรณ์แต่ละแห่งพัฒนาขึ้นมา
AT Command เป็น protocol ในชุดของ Telephony Application Programming Interface (TAPI) ที่ Microsoft คิดขึ้นมาเพื่อให้ PC ที่รันภายใต้ Microsoft Windows สามารถสื่อสารกับอุปกรณ์สื่อสารได้ โดย TAPI ก็จะแตกต่างกันไปตามแต่ละ version ของ Microsoft Windows ในปัจจุบัน TAPI อยู่ที version 3.1

การ เชื่อมต่อแบบนี้ Windows จะมองอุปกรณ์สื่อสารของเราเสมือนว่าเป็น modem และใช้ชุดคำสั่ง AT Command ในการสื่อสารกัน เริ่มต้นการสื่อสารเราอาจใช้ HyperTerminal ที่มีใน Microsoft Windows การทดสอบก่อน
  • เริ่มจากเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารเข้ากับ PC
  • เปิด program HyperTerminal จากนั้นเลือก port ที่เชื่อมต่ออยู่กับอุปกรณ์สื่อสารให้ถูกต้อง
  • ทดลองพิมพ์คำสั่ง AT ถ้าผลลัพธ์ตอบกลับมา OK แสดงว่าเราเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารสำเร็จแล้ว
รายละเอียดของคำสั่ง AT Command ทั้งหมดสามารถหาดูได้จาก website ของผู้ผลิตแต่ละแห่ง เช่นอุปกรณ์สื่อสารที่ผมทำการทดสอบเป็น Nokia Wiki ATCommands
ผู้ผลิตอุปกรณ์แต่ละแห่งก็ implement ชุดคำสั่งไม่เท่ากัน หรือแม้แต่ผู้ผลิตอุปกรณ์แห่งเดียวกันแต่ละรุ่นก็มีชุดคำสั่งไม่เท่ากัน ดังนั้นก่อนที่เราจะใช้งานควรทดสอบก่อนว่าอุปกรณ์นั้นรองรับชุดคำสั่งที่เรา ต้องการหรือไม่ โดยการพิมพ์คำสั่ง AT ตามด้วย +<คำสั่งที่เราจะทดสอบ>=? เช่นถ้าต้องการทดสอบการรับ SMS AT+CMGR=? ถ้าค่าออกมาเป็น OK แสดงว่าอุปกรณ์รองรับคำสั่งนี้ แต่ถ้าออกมาเป็น ERROR แสดงว่าไม่รองรับคำสั่งดังกล่าว

การ สั่งงานควบคุมโดยการใช้ HyperTerminal เป็นวิธีที่ตรงไปตรงมาแต่การใช้งานจริงเราอาจต้องเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุม อุปกรณ์สื่อสารอีกที วิธีที่เราจะเขียนโปรแกรมควบคุมอุปกรณ์สื่อสารโดยใช้ AT Command ทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับ API ของแต่ละภาษา แต่ในตัวอย่างนี้เป็นโปรแกรมที่ใช้ส่ง SMS โดยใช้ภาษา Java เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สื่อสารผ่าน Java Communication API

การทำงานของโปรแกรมตัวอย่างนี้เขียนเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
  • เชื่อมต่อกับอุปกรณ์สื่อสารโดยเราต้องระบุ port ที่ทำการเชื่อต่อ
  • เมื่อเชื่อมต่อได้สำเร็จจะคุยกันผ่าน Java I/O Stream โดยการส่งคำสั่ง AT Command
class Mobile ที่เป็นถูกออกแบบไว้เป็น utility class เพื่อให้เรียกใช้งานง่ายขึ้น
import java.io.*;
import java.util.*;
import javax.comm.*;
import com.sun.comm.*;

class Mobile {

private static final int RESPONSE_TIMEOUT = 50;
private static final int DEVICE_TIMEOUT = 1000;
private static final String NEWLINE = "\n";
private static final String ENTER = "\r";
private static final String CTRL_Z = "\u001A";
private static final String CONNECTION = "connect";
private InputStream in;
private OutputStream out;

private SerialPort port;
private CommPortIdentifier portID;
public Mobile(String appName, CommPortIdentifier portID) throws IOException, PortInUseException, UnsupportedCommOperationException {
this.portID = portID;
port = (SerialPort) portID.open(appName, DEVICE_TIMEOUT);
port.setSerialPortParams(9600, SerialPort.DATABITS_8, SerialPort.STOPBITS_1, SerialPort.PARITY_NONE);
port.setFlowControlMode(port.FLOWCONTROL_NONE);
in = port.getInputStream();
out = port.getOutputStream();
}

public void close() throws IOException {
in.close();
out.close();
port.close();
}


public static Map listPort() throws IOException {
Map listPort = new Hashtable();
Enumeration portList = CommPortIdentifier.getPortIdentifiers();
while (portList.hasMoreElements()) {
CommPortIdentifier portID = (CommPortIdentifier) portList.nextElement();
listPort.put(portID.getName(), portID);
}
return listPort;
}


public String sendSMS(String tel, String msg) throws IOException, InterruptedException {
String result = null;
sendCommand("AT+CMGF=1");
writeRequest("AT+CMGS=\"" + tel + "\"");
result = sendCommand(msg + CTRL_Z);
return result;
}

public String sendCommand(String cmd) throws IOException, InterruptedException {writeRequest(cmd);
return readResponse();
}

private void writeRequest(String req) throws IOException {
out.write(new String(req + ENTER).getBytes());
out.flush();
}

private String readResponse() throws IOException, InterruptedException {
String strIn = "";
for (int i=0; i 0){
byte[] bb = new byte[numChars];
in.read(bb, 0, numChars);
strIn += new String(bb);
}
if (strIn.indexOf(">" + ENTER + NEWLINE) != -1) {
break;
}
if (strIn.indexOf("OK" + ENTER + NEWLINE) != -1) {
break;
}
if (strIn.indexOf("ERROR") != -1 &&
strIn.indexOf(ENTER + NEWLINE, strIn.indexOf("ERROR") + 1) != -1) {
break;
}
Thread.sleep(100);
}
return strIn;
}
}
class client ที่เป็นตัวเรียกใช้งาน utility class การใช้งานเรียบง่ายแค่ระบุ port ที่จะติดต่อและเรียกคำสั่งส่ง SMS โดยใส่เลขหมายปลายทางและข้อความที่ต้องการส่ง
import java.util.*;
import javax.comm.*;
public class Client {
public static void main(String[] args) throws Exception {
//choose port
Map listPort = Mobile.listPort();
System.out.println(listPort);
Mobile mobile = new Mobile("SMS/GSM Nokia N73", listPort.get("COM12"));
System.out.println(mobile.sendSMS("+66123456789", "Hello World"));
System.out.println("---");
}
}

แน่นอนครับว่านอกจากส่ง sms แล้วยังสามารถทำอย่างอื่นได้อีกถ้าสนใจลองดูได้จากชุดคำสั่ง Nokia Wiki ATCommands

โดยสรุปแล้วการสื่อสารผ่าน AT Command มีข้อดีและข้อเสียดังนี้
  • ข้อ ดีของการสื่อสารกันผ่าน AT Command คือเป็นชุดคำสั่งมาตรฐานที่ให้ผู้ผลิตอุปกรณ์นำไป implement ลงในอุปกรณ์สื่อสารของตัวเอง ดังนั้นเราโปรแกรมที่เขียนจึงไม่ต้องกังวลว่าจะใช้สื่อสารกับอุปกรณ์อื่นไม่ได้
  • ข้อเสียคือเนื่องจาก AT Command เป็นชุดคำสั่งที่ Microsoft เป้นผู้คิดขึ้นมาจึงไม่อาจนำไปใช้ต่างระบบปฏิบัติการได้
ข้อเขียนนี้ช่วยฉัน:  

No comments:

Post a Comment