เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจภาษา Java มันเหมือนกับพวกภาษา PHP, ASP และ JSP เป้าหมายของมันคือสร้าง web application ที่ง่ายแต่มีประสิทธิภาพ และปริมาณโค้ดที่น้อยเพื่อลดความซับซ้อนของโด้ดให้น้อยที่สุด เราสามารถเข้าถึงฐานข้อมูล หรือ java class ได้ผ่านทางโดยตัว JSSP เสมือนกับ RMI
JSSP แบ่งออกเป็น 2 component หลักๆ
- JSSP web component เป็นส่วนที่ใช้รัน JavaScript บนฝั่ง Server
- JSSQL component สร้างเพื่อให้ JSSP ใช้ sql query ในการเข้าถึงฐานข้อมูลได้ โดยมันปรับปรุงมาจาก Mozilla Rhino
- Function language
- Dynamic language
- Easy เขียนง่าย
- Interpreted language เป็นภาษาที่ interpret ไม่จำเป็นต้องผ่านการ compile ก่อนถึงใช้งานได้
- Dynamic properties สามารถเพิ่มลด attribute, function ได้ในขณะรันไทม์
- Reuseability ง่ายและยืดหยุ่นในการสืบทอดฟังช์ชั่นที่มีอยู่แล้ว
- XML ง่ายในการเขียนโปรแกรมจัดการกับเอกสาร xml
- Embedded SQL เพิ่มความนสามารถในการติดต่อฐานข้อมูล เข้าไปโดยเราสามารถเขียน sql เพื่อ query ข้อมูลมาแสดงผลได้โดยข้างในมันจะติดต่อฐานข้อมูลผ่านทาง JDBC ให้เอง
- AJAX รองรับการทำงานแบบ ajax
- I18N รองรับการทำงานที่ใช้หลายภาษาได้
- Dervish เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สื่อสารกับทางฝั่งเซิร์ฟเวอร์โดยซ่อนการทำงานไว้เบื่อหลัง ช่วยให้เราสามารถเรียกใช้ออปเจคต่างๆ ที่ประกาศไว้ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ได้
- Easy deployment ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงโค้ด เราไม่จำเป็นต้องรีสตาร์ทเซิร์ฟเวอร์ช่วยลดเวลาที่ไม่จำเป็นออกไป
Library support มี api รองรับที่เพียงพอต่อการใช้งาน
JSSP มันไม่ใช่ Framework ดังนั้นคุณจะเห็นโค้ดปนไปด้วยลอจิกทางฝั่งธุรกิจ + โค้ดทางฝั่งแสดงผล มันจึงไม่เหมาะกับแอพพลิเคชันที่มีขนาดใหญ่ๆ แต่มันเหมาะกับแอพพลิเคชันขนาดเล็กถึงขนาดกลางมากกว่า
นอกจากนี้มันยังไม่มีไลบารี่ที่จำเป็นอีกบางอย่าง เช่นการเข้าถึงไฟล์ หรือการเข้าถึง network (คาดว่าน่าจะมาในรุ่นถัดๆ ไป) แต่เราสามารถใช้ Java ไลบารี่ช่วยทำงานในส่วนนี้ไปก่อนได้
และถึงแม้ syntax ของ JSSP จะถูกเขียนด้วยภาษา JavaScript แต่ด้วยความที่มันทำงานบนฝั่งเซิร์ฟเวอร์จึงไม่สามารถใช้งานออปเจคที่ทำงานบนฝั่งไคลแอนด์ได้เช่นออปเจค window หรือ document
ตัวอย่างสวัสดีชาวโลก
<html> <body> <% out.print("Hello World!"); %> </body> </html>
ตัวอย่างการเข้าถึงฐานข้อมูล
<% var stmt = connection.SELECT * FROM Employees WHERE Name = ?Name?; stmt.Name = "Jack"; var rset = stmt.run(); while (rset.next()) { // do something with the result } %>ด้วยความที่มัน implement ได้ค่อนข้างง่ายจึงมี workflow ของญี่ปุ่นตัวหนึ่งหยิบไปใช้สนใจลองเข้าไปดูได้ intra-mart
ปล. แนวคิดอย่าง JSSP ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่มันเป็นสิ่งที่ผมอาจจะต้องหยิบมาใช้เลยมาแชร์ให้รู้กันว่ามันคืออะไร ไว้ถ้ามีเวลาจะมาเขียนต่อว่าที่ JSSP คุยไว้ ใช้งานจริงแล้วเป็นอย่างไร..
อ้างอิง:
1 comment:
น่าสนใจดีครับ
ผมเลยไปสืบประวัติของผู้พัฒนา JSSP มาอีก
เจ้าของ project นี้คือนาย Leo Meyer
เป็นนักพัฒนาชาวเยอรมัน
นี่เป็น home page ของเค้าครับ
http://www.leomeyer.de
idea ของเค้าดี แต่ถ้าอยากให้เป็นที่นิยมแพร่หลายมากกว่านี้
ต้องลุ้นให้ Apache Foundation หรือ SpringSource ก็ได้ มาหนุนหลังให้อีกที แล้ว project นี้จะเป็นที่น่าจับตาทีเดียว
Post a Comment